โจโม เคนยัตตา
โจโม เคนยัตตา | |
---|---|
เคนยัตตาในปี พ.ศ. 2509 | |
ประธานาธิบดีเคนยา คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2507 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 | |
รองประธานาธิบดี | จาราโมกี โอกินกา โอดินกา โจเซฟ มูรุมบี แดเนียล อารัป โมอี |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะ พระราชินีแห่งเคนยา |
ถัดไป | แดเนียล อารัป โมอี |
นายกรัฐมนตรีเคนยา คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2507 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร |
ถัดไป | ไรลา โอดินดา (2551) |
ประธานแห่งขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | เจมส์ กิชูรู |
ถัดไป | แดเนียล อารัป โมอี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | คาเมา วา มูไก ป. พ.ศ. 2440 งินดา, บริติชแอฟริกาตะวันออก |
เสียชีวิต | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (81 ปี) โมมบาซา, จังหวัดโคสท์, ประเทศเคนยา |
ที่ไว้ศพ | ไนโรบี, ประเทศเคนยา |
เชื้อชาติ | เคนยา |
พรรคการเมือง | ขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา (KANU) |
คู่สมรส | เกรซ วาฮู (m. 2462) เอ็ดนา คาร์เก (2485–2489) เกรซ วาจินกู (d. 2493) งินา เคนยัตตา (สมรส 2494) |
บุตร | 8
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน, โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน |
โจโม เคนยัตตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (ป. พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้นำคนแรกของเคนยาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2521 ได้รับการยกย่องในฐานะ บิดาแห่งประเทศเคนยา[1]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]เขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก[2] จากนั้นเขาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน[3] และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ
เส้นทางการเมือง
[แก้]เขากลับมายังประเทศเคนยาเมื่อ พ.ศ. 2489 และได้เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2490 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานแห่งสหภาพเคนยาแอฟริกัน[4] ซึ่งเขาพยายามรวบรวมชนพื้นเมืองต่างๆ ประกาศเอกราชจากอังกฤษซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าต่างๆ ในประเทศเป็นอย่างดี แต่เขากลับถูกต่อต้านจากกลุ่มคนในพื้นที่ที่ผิวขาว ใน พ.ศ. 2495 เขาจึงถูกจำคุกพร้อมกับแกนนำอีก 5 คน ในกลุ่มที่เรียกว่า คาเปนกูเรียซิกซ์ ในคดีกบฎเมาเมา (Mau Mau Uprising)[5] แม้ว่าเขาจะชุมนุมอย่างสันติก็ตาม อย่างไรก็ดี เขายังถูกจำคุกที่โลกิตวงจนได้รับอิสรภาพในปี พ.ศ. 2502[6] และถูกเรเทศไปยังลอดวาร์ จนถึง พ.ศ. 2504[7]
หลังเขาได้รับอิสรภาพ เขาเป็นประธานขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา และเขาได้นำพรรคสู่ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยาในปี พ.ศ. 2506[8] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขาได้ดำเนินนโยบายให้เคยนยาถอนตัวจากเครือจักรภพและเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐเอกราชระบอบสาธารณรัฐและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเคนยาเมื่อปี พ.ศ. 2507[9] ในระหว่างการเป็นประธานาธิบดี เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในสงครามเย็น และต่อต้านสังคมนิยม ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในเรื่องการทุจริตทางการเมือง[10]
บั้นปลายชีวิต
[แก้]เขาเริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจในปี พ.ศ. 2509[11] และได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 สิริอายุได้ 81 ปี ซึ่งรัฐพิธีศพของเขาถูกจัดขึ้นที่โบสถ์เพรสไบทีเรียนเซนต์แอนดรูว์หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเขาเพียงหกวัน โดยเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงร่วมรัฐพิธีศพของเขาด้วย[12] และมีผู้นำจากทวีปแอฟริกามาร่วมพิธีศพของเขา อาทิ อีดี อามิน เคนเนต ควนตา ฮาสติงส์ แบนดา รวมถึงโมรารชี เทสาอี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และโมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก ประธานาธิบดีปากีสถาน ก็ร่วมรัฐพิธีศพของเขาเช่นกัน[13] ร่างของเขาถูกฝังในสุสานบริเวณรัฐสภา
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติโจโมเคนยัตตาเพื่อให้เกียรติแก่เขา และลูกชายของเขาอูฮูรู เคนยัตตาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 4 ของประเทศเคนยา[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Murray-Brown 1974, p. 315; Arnold 1974, p. 166; Bernardi 1993, p. 168; Cullen 2016, p. 516.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 167; Berman & Lonsdale 1998, p. 27; Maloba 2018, pp. 69–71.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 180; Assensoh 1998, p. 46.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 226; Maloba 2018, p. 113.
- ↑ Maloba 2018, p. 121.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, p. 140.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, pp. 140, 143.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 303; Kyle 1997, p. 49.
- ↑ Lonsdale 2006, p. 99.
- ↑ Maloba, W. O. (2017). The Anatomy of Neo-Colonialism in Kenya: British Imperialism and Kenyatta, 1963–1978. African Histories and Modernities (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. ISBN 978-3-319-50964-8.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 320; Maloba 2017, p. 238.
- ↑ Cullen 2016, pp. 524, 526; Maloba 2017, p. 314.
- ↑ Maloba 2017, p. 316.
- ↑ Jason Patinkin in Nairobi. "Uhuru Kenyatta's election victory is denounced by Kenya's supreme court 2017". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Jomo Kenyatta